Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

ปลาหางนกยูง ราชินีแห่งสีสัน ปลาสวยงามที่บ้านไหนๆ ก็อยากเลี้ยง

ปลาหางนกยูง

เมื่อร้อยกว่าปีก่อนเป็นครั้งแรกที่มีการนำเอา ปลาหางนกยูง เข้ามาในไทย ถึงจะไม่รู้แน่ชัดว่าใครที่เป็นคนนำเอาปลาเหล่านี้เข้ามา แต่มันก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้หลายคนได้รู้จักกับความงดงาม รวมถึงเรียนรู้ที่จะพัฒนาปลาหางนกยูงสวยงามกันมาเรื่อยๆ และเกิดเป็น ปลาหางนกยูง สายพันธุ์ไทยยอดนิยมมากมายในปัจจุบัน ซึ่งเดิมทีปลาหางนกยูงเป็นสัตว์ที่พบเห็นได้ทั่วไป ตามแหล่งน้ำธรรมชาติของทวีปอเมริกากลางไล่ยาวไปจนถึงทวีปอเมริกาใต้ ถึงแม้ว่าสมัยนี้จะมีการเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูงให้พัฒนาขึ้นมากแค่ไหน แต่มันก็ยังคงมีความเลี้ยงง่ายทำให้กลายเป็นสัตว์เลี้ยงยอดฮิตทั้งในกลุ่มคนเลี้ยงปลามือใหม่และคนเลี้ยงปลาสวยงามมือโปรทั่วทุกมุมโลกอยู่เสมอ

ลักษณะพิเศษของ ปลาหางนกยูง

ลักษณะพิเศษของปลาหางนกยูง

ลักษณะพิเศษของปลาหางนกยูง ซึ่งเป็นสิ่งที่โดดเด่นจนทำให้ทั่วโลกต่างยอมรับ และเลือกที่จะมอบตำแหน่ง ‘ราชินีแห่งสีสัน’ ให้กับพวกมัน ก็คือความสวยงามของลวดลายบริเวณลำตัว ความคมชัดของลวดลาย มีระบายหางพริ้วสวย ครีบหางใหญ่ รวมถึงมีสีสันสดใสอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของปลาในแต่ละสายพันธุ์

ซึ่งตามปกติทั่วไปปลาชนิดนี้ก็จะมีขนาดที่ไม่ได้ใหญ่มาก โดยเฉลี่ยปลาหางนกยูงตัวผู้จะมีขนาดเมื่อโตเต็มวัยอยู่ที่ประมาณ 3-5 เซนติเมตร ในขณะที่ตัวเมียใหญ่ไม่ถึง 10 เซนติเมตรเท่านั้น ทำให้การจัดเตรียมพื้นที่เพื่อเลี้ยงพวกมันแสนจะสะดวกสบายไม่ยุ่งยาก สามารถเลี้ยงในเลี้ยงอ่าง ตู้ปลา หรือโหลแก้วได้เลย

สีสันของปลาหางนกยูง

นอกจากนั้นนิสัยปลาหางนกยูงส่วนใหญ่ ก็ยังสามารถเลี้ยงรวมกันเป็นฝูงได้ เมื่อพวกมันว่ายไปมาอยู่ในน้ำ ก็ยิ่งทำให้ความพริ้วไหวของปลาหางนกยูงฝูงใหญ่มีชีวิตชีวาน่าประทับใจมากขึ้นไปอีก แต่ก็ต้องเตือนกันเอาไว้ถ้าหากไม่อยากได้ลูกปลาเกิดใหม่จำนวนมาก วิธีเลี้ยงปลาหางนกยูงที่ถูกต้องคือควรแยกปลาเพศผู้และเมียออกจากกันจะดีกว่า

ซึ่งใครที่อยากหาปลาหางนกยูงมาเลี้ยงกัน ก็สามารถเริ่มจากการซื้อปลาหางนกยูงราคาถูกมาทดลองเลี้ยงก่อนก็ได้ โดยเลือกให้อาหารปลาหางนกยูงได้ทั้งแบบเม็ดสำเร็จรูป ให้สัตว์น้ำรวมถึงลูกปลาตัวเล็กๆ หรือจะเลือกสารอาหารชนิดพิเศษเพื่อบำรุงเฉพาะจุดก็ได้อีกด้วย

สายพันธุ์ของ ปลาหางยกยูง

สายพันธุ์ของปลาหางนกยูงมีอะไรบ้าง

ถึงแม้ในสมัยก่อนปลาหางนกยูงอาจจะไม่สามารถพบได้ในประเทศไทย แต่ด้วยการขนส่งรวมถึงความสามารถในการเพาะพันธุ์ รวมถึงการอนุบาลปลาหางนกหูงที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ในปัจจุบันเราสามารถพบเห็นสายพันธุ์ปลาหางนกยูงที่หลากหลายมากขึ้นได้ โดยสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมในตลาดบ้านเราก็ได้แก่

  • สายพันธุ์โมเสก
  • สายพันธุ์มอสโคว
  • สายพันธุ์ทักซิโด้
  • สายพันธุ์สวอลโล
  • สายพันธุ์กราส
  • สายพันธุ์คอบร้า
  • สายพันธุ์อัลบิโน
  • สายพันธุ์โซลิด
การเพาะพันธุ์ของปลาหางนกยูง

การเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง

ในสมัยนี้มีการเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูงเพื่อจำหน่ายกันเป็นวงกว้าง เนื่องจากความต้องการของตลาดปลาสวยงามยังคงคึกคักอยู่เสมอ โดยวิธีการเพาะพันธุ์ที่ง่ายมากที่สุดและได้รับความนิม ก็คือการคัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ซึ่งมีลักษณะพิเศษของปลาหางนกยูงคุณภาพดีอย่างครบถ้วน เช่น ลายชัด สีสวย ครีบหางใหญ่ มาผสมกันเพื่อคัดเลือกลูกที่มีคุณสมบัติที่ต้องการมากที่สุด

โรคของ ปลาหางนกยูง

โรคและการรักษาของปลาหางนกยูง

ใครที่เคยมีประสบการณ์เลี้ยงสัตว์กันมาบ้าง ก็คงจะรู้กันดีว่าหนึ่งในปัจจัยที่สร้างความปวดหัวและปวดใจให้มากที่สุดก็คือการที่สัตว์เลี้ยงเกิด ‘ป่วยเป็นโรค’ ขึ้นมา ไม่เว้นแม้แต่ปลาหางนกยูงที่สามารถพบเจอกับโรคน่ากลัวมากมายได้ไม่ต่างจากสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ดังนั้นเราจึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรคและการรักษาของปลาหางนกยูงเพื่อเตรียมรับมือกันเอาไว้ เช่น

  • โรคจุดขาว

โรคจุดขาวเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปกับสัตว์ที่เลี้ยงในตู้ปลา มีสาเหตุมาจากสิ่งมีชีวิตหรือเชื้อโรคที่เรียกว่า Ichthyophthirius multifilis (Ich) ซึ่งมันจะเข้าไปฝังตัวอยู่บริเวณผิวหนังของปลา พบได้บ่อยโดยเฉพาะช่วงที่อุณหภูมิของน้ำภายในตู้ปลาเกิดการเปลี่ยนแปลง

โดยปลาที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวก็จะเริ่มมีจุดสีขาวเกิดขึ้นบริเวณลำตัว ครีบ หาง หากอาการยังไม่ได้รุนแรงมากนักจะเริ่มซึม หางและครีบมีความผิดปกติ เมื่อเข้าสู่ระยะที่หนักมากขึ้นก็จะมีอาการหายใจแรง เบื่ออาหาร และตายไปในที่สุด

ดังนั้นเมื่อสังเกตเห็นความเสี่ยงที่ปลาของเราจะมีอันตรายจากโรคดังกล่าว ก็ต้องรีบหาทางกำจัดเจ้า Ich ให้เร็วที่สุดด้วยการใช้ประโยชน์จากฟอร์มาลีนผสมเข้ากับมาลาไคท์ในปริมาณที่เหมาะสม และหมั่นสังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับปลาอยู่เสมอ

  • โรคท้องบวมน้ำ

อาการท้องบวมน้ำเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของปลาหางนกยูง เนื่องจากปลาที่ป่วยเป็นโรคนี้จะดูไม่ได้แตกต่างไปจากปกติเท่าไหร่ จนทำให้หลายคนคิดว่ามันคงแค่ท้องอืด หรือกินอาหารมากไปทำให้ท้องบวมเป่งขึ้นมาก็เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงความน่ากลัวของโรคนี้มีมากกว่าที่เห็นไม่น้อยเลยทีเดียว

โดยโรคท้องบวมน้ำเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมันจะทำให้ครีบและหางเริ่มกร่อน เกล็ดพอง และมีลักษณะของท้องที่โตขึ้น อาจทำให้ปลามีอาการซึม เบื่ออาหารร่วมด้วย ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา เช่น คลอแรมฟินิคอล ไนโตรฟูราโซน หรือเตตร้าซัยคลิน ผสมกับน้ำด้วยอัตราส่วนที่ต่างกันออกไป เพื่อทำการฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของโรค

  • โรคหนอนสมอ

หนอนสมอเป็นสิ่งมีชีวิตอันตรายที่ส่งผลเสียต่อปลาหางนกยูงรวมถึงสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ เป็นอย่างมาก โดยมันมีลักษณะลำตัวเป็นทรงกระบอก มีส่วนหัวที่คล้ายกับสมอเอาไว้ยึดเกาะและฝังตัวเข้าไปในตัวปลา ในขณะที่ส่วนตัวของมันจะลอยไปลอยมาอยู่ข้างนอก หากใครเผลอไปดึงก็จะทำให้ปลาเกิดแผลและเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้โดยวิธีการรักษาโรคหนอนสมอที่ปลอดภัย ก็คือการใช้ดิพเทอร์เร็กซ์ละลายกับน้ำในปริมาณที่เหมาะสม จากนั้นแช่ทิ้งเอาไว้ตลอด โดยสามารถเว้นระยะในการรักษาด้วยวิธีการนี้ประมาณหนึ่งอาทิตย์ สามารถทำซ้ำได้ประมาณ 3-4 ครั้งจนกว่าอาการของปลาจะหายเป็นปกติ และไม่พบเจ้าหนอนสมอในตู้ปลาอีกแล้ว

ความสวยงามของปลาหางนกยูง

บทสรุป

ปลาหางนกยูงเป็นสัตว์เลียงที่มีความโดดเด่นตรงที่ลวดลายอันสวยงาม มีสีสันที่เป็นเอกลักษณ์บ่งบอกถึงความเป็นราชินีแห่งสีสันได้อย่างดี นอกจากนั้นพวกมันก็ยังมีนิสัยน่ารัก เลี้ยงง่าย อยู่รวมกันเป็นฝูงได้ เหมาะสำหรับมือใหม่ที่อยากจะเลี้ยงปลาสวยงามด้วยตัวเอง แต่ถึงอย่างนั้นมันก็ยังมีโรคที่ควรต้องระวังมากมายทั้งโรคจุดขาว โรคท้องบวมน้ำ และโรคหนอนสมอ

ขอขอบคุณคลิปจาก Lucky Betta Fish

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ ezrocking-ranch.com

ปูเสฉวน เลี้ยงได้ไหม? และมีข้อมูลอะไรบ้างที่ต้องรู้เกี่ยวกับปูชนิดนี้

แนะนำทริคเลี้ยง นกหงส์หยก ง่ายๆ สำหรับมือใหม่เพิ่งเริ่มต้นเลี้ยง

Share:

Facebook
Twitter
หัวข้อที่น่าสนใจ

Related Posts